AV Comm Thailand

 

 

เราใช้โสตทัศน์เพื่ออะไร

 

ภาพที่ดูง่าย
 
 

ผมเคยมีลูกน้องที่ต่อมาเป็นถึงด็อกเตอร์ด้านโสตทัศนศึกษา วันหนึ่งท่านมาหาผมเพื่อขอความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพตึกสูงแล้วยอดตึกตีบเข้าหากัน
เผอิญผมมีแผ่นใสเรื่องนี้ ที่ผมทำขึ้นเล่นๆ จึงเอามาประกอบการอธิบาย เสร็จแล้วผมขอให้ท่านวิจารณ์แผ่นใสที่ผมลองผลิตขึ้นมา
ท่านชำเลืองดูด้วยหางตาอย่างเหยียดๆแว็บหนึง แล้วพึมพำอย่างดูแคลนว่า “Simple” ทำเอาผมช็อค คาดไม่ถึงว่าคนระดับนี้ทำไมถึงไม่เข้าใจ อาจเป็นเพราะท่านไม่ทราบว่า กว่าที่ผมจะออกแบบเพื่อให้ดู Simple อย่างที่ท่านพูดนั้น ผมต้องแก้แล้วแก้อีกร่วม 10 ครั้ง เพื่อให้ดูง่าย เข้าใจง่าย
ยกตัวอย่างภาพที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ (Symbal) มักจะเป็นภาพที่ดุง่ายๆ ไม่ค่อยจะมีเส้นสาย แต่ดูแล้วเข้าใจ อย่าง เช่น สัญลักษณ์ห้องน้ำ ชาย-หญิง

สัญลักษณ์ห้องน้ำชาย-หญิง ที่เป็นสากลนั้น ใครที่เห็นก็พอจะเข้าใจแต่มีบางแห่งที่ผมเข้าใจว่า ช่างศิลป์เขาต้องการที่จะให้ป้ายนั้นมีเอกลักษณ์ มี Design จึงออกแบบมา อย่างเช่นที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เขาทำสัญลักษณ์เสียจนผมเข้าใจว่าเป็นห้องน้ำของตุ๊ดโดยเฉพาะ ทำเอาผมไม่กล้าใช้
ห้องน้ำบางแห่งที่ออกแบบสัญลักษณ์ที่มี Design มากจนคนเห็นไม่เข้าใจ จนในที่สุดก็ต้องเติมคำว่า M ที่ห้องน้ำชาย และ W ที่ห้องน้ำหญิง นี่แสดงว่าสัญลักษณ์ที่เขาได้ทำขึ้นนั้นไม่เวิร์ค
และบางแห่งเอารูปไม้แกะสลักภาพชายหญิงไทยโบราณที่ทำขายให้นักท่องเที่ยว แล้วนำมาติดหน้าห้องน้ำชาย-หญิง ซึ่งหญิงไทยโบราณตัดผมสั้นแบบผู้ชาย ขนาดผมเป็นคนไทยยังดูไม่ออกต้องยืนดูอยู่หน้าห้องน้ำ รอจนกว่าจะมีคนเข้าหรือออก แล้วสังเกตว่าคนๆนั้นเป็นชายหรือหญิง และเข้าหรือออกห้องไหน
การออกแบบภาพ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนให้ดูง่าย (Simple) นั้นบางครั้งก็ยากกว่าภาพที่ดูซับซ้อน (Complex) แต่ในวิชาโสตทัศน์นั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ภาพนั้นต้องดูง่าย หรือซับซ้อน แต่ต้องทำให้ผู้ดูเข้าใจง่าย เข้าใจถูกต้องและน่าสนใจ
ผมอยากจะเล่าถึงเหตุการณ์หนึ่ง คือมีหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้มายืนระบบสไลด์มัลติวิชั่น ขนาด 9 เครื่องฉาย เพื่อนำไปใช้ประกอบการอบรมที่จังหวัดนครราชสีมาฟรีๆ เพียงเขาออกค่าห้องพักให้ ส่วนผมต้องใช้พนักงาน 10 คน รถยนต์ 3 คัน แต่3คนขับรถ และลูกน้องอีก 2 คนกลับทันที่ที่ติดตั้งระบบฉายเสร็จและกลับมารับ ของวันสุดท้าย
ระบบสไลด์มัลติวิชั่นที่ผมให้ยืมนั้น มีราคาร่วม 1ล้านบาทในสมัยนั้น หลังพิธีเปิดการอบรมเสร็จ อยู่ๆเจ้าของโครงการก็มาขอให้ผมบรรยาย แบบไม่ให้ตั้งตัว เผอิญผมได้ทำแผ่นสาเรื่องนี้ และได้นำติดตัวไปด้วยซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมทดลองทำขึ้นเมื่อหลายปีก่อน แต่ยังไม่มีโอกาสใช้งาน ผมจึงอยากทดลองใช้งาน ผมจึงตอบตกลง
หลังการบรรยาย มีคนหนึ่งบอกผมว่า ที่ผมบรรยายมา 2 ชั่วโมงนั้น เขาเข้าใจดีกว่าเมื่อเขาไปอบรมที่ บ.โกดัก (ประเทศไทย) มา 5วัน
ส่วนอีกคนสงสัยว่าแผ่นใส่ที่ผมผลิตนั้น ผมใช้บ่อยหรือ ถึงทำเสียดีมากๆ ผมตอบไปว่า แผ่นใสที่ผมใช้นั้น ไม่เคยใช้ที่ไหนมาก่อน พึ่งจะใช้ครั้งแรกในวันนี้
ผู้ถามรู้สึกงง เขาจึงถามต่อว่า แล้วทำไมผมถึงได้ผลิตแผ่นใสเสียดี ผมจึงถามกลับว่า แล้วเขาเข้าใจไหม และชอบไหม เขาบอกว่าเขาเข้าใจดี และชอบมาก ผมจึงบอกว่า แม้จะได้มีโอกาสใช้เพียงครั้งเดียว แต่ในเมื่อใช้แล้วได้ผล ผมก็ถือว่าคุ้มแล้ว
ในสมัยนั้นแผ่นใส่ที่ผลิตโดยนักวิชาการโสตทัศน์จะมีแต่ตัวหนังสือที่เขียนด้วยมือ ฉายในแนวตั้ง (Portrait) แต่ในวิชาโสตทัศน์ ภาพฉายต้องจัดเป็นแนวนอน (Landscape) แม้แต่นักโสตทัศน์ที่ ได้รับการยกย่องว่าเก่งมีฝีมือในการผลิตแผ่นใส เป็นความภาคภูมิใจของภาควิชาโสตทัศนศึกษา ก็เขียนตัวอักษรด้วยปากกาเขียนแผ่นใสเป็นตัวหนังสือเต็มทั้งหน้าในแนวตั้ง
แต่เขาบอกว่าแผ่นใสของเขาสวย เพราะมีภาพดอกไม้ที่เขาเขียนในสไตล์เด็กอนุบาล แต่น่าเสียดายไม่มีผู้ชมคนใดสังเกตเห็น
ส่วนแผ่นใสของผมเป็น diagram เขียนด้วยตัวอักษรตัวขูด (transfer) และลายเส้น ที่เขียนโดยพนักงานของผมที่เป็นช่างศิลป์ เสร็จแล้วนำไปถ่ายเป็นแผ่นใส ก่อนจะติดสติกเกอร์ใส เป็นสี เพื่อให้เห็นเด่นชัด เพราะสมัยนั้นยังไม่มีการผลิตไดอแกรมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่เพียงเท่านั้นผมยังใช้เทคนิคการใช้งานให้มีแผ่นซ้อน (overlay) เพื่ออธิบายอย่างมีขั้นตอน และต่อเนื่องมีการนำแผ่นทึบแสงบังบางส่วนเพื่อ เผยรายละเอียดทีละขั้น ติดด้วยเทปกาว ด้านหนึ่งให้ทำหน้าที่เหมือนบานพับ
ถ้าจะดูสไตล์การออกแบบไดอแกรมบนแผ่นใสของผม ที่ผลิตเพื่อใช้สนับสนุนการบรรยาย (Speaker support) ขอให้คลิกดูที่ลิงค์ข้างล่างนี้

               •     ทางเดินแสงในเครื่องฉายสไลด์                 
               •     คีย์สโตน (Keystone) ตอนที่ 1                 
               •     คีย์สโตน (Keystone) ตอนที่ 2

หลังอาหารกลางวันก็มีอาจารย์โสตฯจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มาสอนการออกแบบแผ่นใส ท่านมาพร้อมด้วยแผ่นใส เขียนด้วยปากกาเขียนแผ่นใส ซึ่งในนั้นมีภาพย่อยอยู่สี่ภาพ
ท่านสาธิตการใช้แผ่นใสด้วยการใช้มือบัง ให้เห็นเห็นภาพย่อยที่ละภาพ ซึ่งท่านบอกว่า แต่ละภาพสามารถอธิบายได้ 1 หัวข้อ รวมเป็น 4 หัวข้อหากฉายพร้อมกันหมดก็ได้อีก 1หัวข้อ
ถ้าท่านฉาย 2ภาพบนพร้อมกัน 2ภาพล่างพร้อมกัน 2ภาพซ้ายพร้อมกัน 2ภาพ และขวาพร้อมกัน 2 ภาพ รวมทั้งทแยงมุมจากบนซ้ายไปล่างขวา และจากล่างซ้ายไปบนขวา แต่ละครั้งสามารถใช้ประกอบแต่ละหัวข้อต่างๆกันได้หลายแบบ
เมื่อจบการบรรยาย ท่านก็แจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าอบรม เมื่อแผ่นสอบถามทยอยส่งกลับ ท่านก็เอามาดูได้ 4-5ใบ แล้วบ่นอย่างน้อยใจว่านึกแล้วว่าแล้วผลจะต้องเป็นแบบนี้
ผมไม่ทราบว่าแผ่นสอบถามนั้นว่าถามอย่างไร แต่คิดว่าทุกครั้งที่ท่านเอาเรื่องแผ่นใสนี้ ไปสอนที่ไหน ผลการสอบถามน่าจะดีกว่าครั้งนี้ ซึ่งเผอิญท่านต้องมาบรรยายต่อจากผม ที่แผ่นใสของผมทำประณีตกว่ามากๆ และอธิบายได้ชัดเจน
ในด้านคุณภาพของภาพของท่านั้น หากนำไปเทียบกับนักโสตทัศน์คนอื่นๆด้วยกัน ต้องถือว่าชนะขาด เพราะนักโสตทัศน์เวลาผลิตแผ่นใสจะมีเพียงตัวอักษรล้วนๆ แต่เมื่อนำมาเทียบกับแผ่นใสของผมแล้วมันคนละระดับกันเลย
การใช้มือบังภาพก็ดูไม่ใช่มืออาชีพ ซึ่งต่างจากของผมที่ใช้แผ่นกระดาษแข็ง ติดแผ่นพับทำให้ เปิด/ปิดได้เรียบร้อย มีความน่าสนใจเมื่อใช้ประกอบการแบบยาย
แม้ท่านจะออกแบบแผ่นใสได้อย่างชาญลาดและซับซ้อนก็จริง แต่เมื่อภาพบังส่วนนั้นส่วนนี้ของภาพขณะบรรยาย บอกได้เลยว่าในที่สุดคนเข้าอบรมจะรู้สึกสับสน
ดังนั้นแผ่นใสไม่ว่าจะดูง่ายๆ (Simple) หรือซับซ้อน (Complex ผมจะไม่ใช้คำว่า Complicate) จะไม่สำคัญเท่ากับความเข้าใจง่าย และภาพที่ดูง่าย (Simple) ก็ไม่ได้หมายความว่า คิดขึ้นมาได้ง่ายๆ หลายครั้ง ยากยิ่งกว่าการคิดภาพที่ดูซับซ้อน
ผมเข้าใจว่าในหลักสูตรวิชาโสตทัศนศึกษา เขาสอนวิธีการผลิตสื่อเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สอนว่าสื่อที่ดีควรเป็นอย่างไร เพราะไม่เคยเห็นแผ่นใสสื่อ Power Point ที่พวกเขาผลิตขึ้น เข้าขั้นมืออาชีพผมเชื่อว่าถ้ามีใครมีความสามารถออกแบบ Power Point เพื่อใช้ประกอบการบรรยาย (Speaker support) ได้ดีน่าจะรับงานได้ไม่หวัดไม่ไหว ทั้งจากภาคเอกชนและรัฐฯ

 

 

 

ลงเมื่อวันที่ 27-10-2015


บทความอื่นๆ